ร้านและโรงงานผลิตสาเก Tanaka Sake Brewery ที่ข้าเจ้าได้ไปนั้นมี 2 แห่ง แห่งแรกเป็นร้านขายสาเกเฉยๆที่ตอนแรกเข้าใจว่าโรงงานสาเกอยู่ที่นั่นด้วย แต่แล้วพอไปถึงรีบเข้าไปถามพนักงานว่ามีโรงงานด้วยใช่มั้ยเค้าบอกว่ามีแต่อยู่อีกที่นึง เอาๆ ไหนๆ ก็มาแล้วไปดูมันทั้งสองที่เลยละกัน
ร้านขายสาเกทานากะ ร้านนี้สามารถเดินมาทางเดียวกันกับ [รีวิวฮอกไกโด] : ตลาด Ringu Morning Maket ใช้เวลาเดินทางจากสถานีโอตารุ (Otaru Station) ประมาณ 1.5 กิโล ถือว่าไกลพอสมควรเนอะ
แต่ก่อนนั้นในเมืองโอตารุมีโรงผลิตสาเกเป็นจำนวนมากต่อมาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นบางโรงงานก็ปิดตัวลง บางโรงงานก็เปลี่ยนมาทำแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ เช่น เบียร์ ไวน์ วิสกี้ (ในโอตารุยังมีโรงงานพวกนี้อยู่) จนในปัจจุบันเหลือเพียงโรงผลิตสาเกสาเกทานากะเพียงที่เดียว
แอ๊ดด เปิดประตูเข้ามาข้างใน โอโหร้านใหญ่โตมิใช่น้อย
ตรงนี้เป็นห้องสำหรับนั่งชิมสาเก พนักงานจะหยิบสาเกแช่เย็นมาใส่แก้วแล้วให้เราลองชิม
เหล้าทุกชนิดที่ผลิตจากโรงงานทานากะนั้นมีวัตถุดิบทั้งหมดมาจากฮอกไกโด ข้าวที่ใช้เป็นข้าวไวน์บริสุทธิ์ น้ำที่ใช้เป็นส่วนผสมที่สูบจากใต้ดินลึก 75 เมตร นอกจากสาเกแบบปกติแล้วที่นี่ยังผลิตเหล้าผลไม้ เช่น เหล้าบ๊วย ลูกพรุน ลูกท้อ บลูเบอร์รี่ หรือเหล้าอะโลเนียที่บำรุงสายตาด้วย
สาเก 3 ขวดนี้ที่ได้รับเลือกให้เป็น popular vote และอันซ้ายสุดคือ No.1 ของที่นี่ ซึ่งขุ่นพ่อก็ได้เลือกใส่ถุงมาเรียบร้อยแล้ว
สาเกขวดรูปกั๊ปปะ
ทั้งภายในและภายนอกยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งความเก่าแก่
โซนนั่งดื่มสาเกแบบในสมัยก่อน
จากนั้นเราก็มาต่อกันที่โรงงานผลิตสาเกทานากะ (Tanaka Sake Brewery) เดินจากสถานีรถไฟมินามิโอตารุใช้เวลาประมาณ 10 นาที แต่ถ้าเดินมาจากร้านขายสาเกทานากะเลยก็ประมาณ 3 กิโล ผ่าน Sakaimachi Street ถนนที่มีร้านค้าต่างๆ เช่น ร้านเค้กLetao, พิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีโอตารุ (Music Box Museum)
โรงผลิตสาเกทานากะนั้นได้เริ่มกิจการมาร้อยกว่าปีแล้ว ตั้งแต่ยุคเมจิ ปีค.ศ. 1899 (Meiji 32) แล้วย้ายมายังเมืองโอตารุโดยนำอาคารเก่าในสมัยโชวะ ปีค.ศ. 1927 (Showa 2) มาบูรณะขึ้นใหม่ให้เป็นโรงกลั่นสาเกจนในปัจจุบันได้รับการประกาศให้เป็นอาคารทางประวัติศาสตร์ของเมืองโอตารุ และยังคงเหลือหนังสือ ป้ายตราต่าง ๆ ในสมัยโชวะจัดแสดงให้ชมอยู่ด้วย
ทางเดินเข้าโรงกลั่นก็มีถังหมักสาเกเรียงซ้อนกัน
เข้ามาด้านในชั้นล่างเป็นโซนของร้านค้า ส่วนชั้นบนเป็นวิธีการผลิตสาเกให้เข้าชมแบบฟรี ๆ
วิธีการผลิตสาเกคือจะใช้ข้าวสาร 500 กิโล นำมาขัดและทำความสะอาด 2 วัน จากนั้นก็นำข้าวมานึ่ง นำส่วนผสมของข้าวสุก โคจิ (กล้าเชื้อ) น้ำมาหมักและกวนให้ได้ที่แล้วทำการสกัดเอาของเหลวออก สุดท้ายบรรจุลงในขวด เมื่อกระบวนการผลิตเสร็จสิ้นก็จะได้สาเกจำนวน 4,000 ลิตร หรือ 3,000 ขวด
ของแข็งที่เหลือเรียกว่า กากสาเก ชิมแล้วจะมีรสชาติจืดๆ แต่ยังมีกลิ่นของสาเกอยู่ นำมาใช้ประโชน์มากมาย เช่น ต้มน้ำตาลใส่เกลือนิดหน่อยเป็นสาเกหวาน (Amazake) ปรุงอาหาร หรือนำบำรุงผิวพรรณก็ยังได้
ทุกอย่างจะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำสาเก ห้องหมักข้าวก็ต้องปลอดเชื้อด้วย
ข้าวที่ใช้ทำสาเกนั้นจะเป็นข้าวเฉพาะที่มีความแข็งกว่าข้าวทั่วไป ข้าวที่นำมารับประทานนั้นปกติปริมาณการขัดสีจะอยู่ที่ 90% ส่วนข้าวที่มาทำสาเกจะขัดสีน้อยกว่านั้นอยู่ที่ 70% หรือ 50% ลงมาขึ้นอยู่กับชนิดของสาเก
เมื่อนึ่งข้าวเสร็จแล้วจากนั้นจะนำข้าวไปผึ่งเพื่อลดความร้อนแล้วก็หมักข้าวกับยีสต์ที่เรียกว่าโคจิ
โรงผลิตทานากะแห่งนี้ใจะมีการผลิตสาเกตลอดทั้งปีและขายอาทิตย์ต่ออาทิตย์ ดังนั้นหากใครสนใจก็สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโรงกลั่นแห่งนี้ได้ตลอดทั้งปีค่ะ
★★★สรุปโรงผลิตสาเกทานากะ(19/11/2018)★★★ หากใครชื่นชอบสาเก แอลกอฮอล์จากท้องถิ่นพร้อมชมวิธีการผลิตหล่ะก็มาที่โรงงานเลยดีกว่า เดินจาก พิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีโอตารุ (Music Box Museum) มาก็ไม่ไกลมาก แต่ห้องชมการผลิตจริงๆ แล้วมีอยู่นิดเดียวอาจจะไม่ค่อยน่าสนใจมากเท่าไหร่
Leave a Reply