[รีวิวสิงค์โปร์] : การมาทำงานในสิงค์โปร์

บทความนี้จะขอเล่าประสบการณ์ในการมีโอกาสมาทำงานในบริษัทเทคโนโลยีในสิงค์โปร์ ในปี 2022 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจในการอยากย้ายมาทำงานที่สิงค์โปร์กันนะครับ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกันด้วยนะครับ โดยเนื้อหาจะแบ่งดังนี้

  • สิ่งที่ควรทำเพื่อดึงดูดคนสัมภาษณ์
  • การเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์
  • รูปแบบการสัมภาษณ์
  • สิ่งที่ต้องทำก่อนมาสิงค์โปร์
  • สิ่งที่ต้องทำเมื่อมาอยู่สิงค์โปร์
  • การเช่าที่อยู่อาศัยในสิงค์โปร์
  • รายชื่อแอพที่จำเป็นในสิงค์โปร์สำหรับผู้ใช้ไอโฟน

สิ่งที่ควรทำเพื่อดึงดูดคนสัมภาษณ์

สำหรับผม หากต้องการให้เป็นที่รู้จักในสายตาของบริษัทในต่างประเทศ ส่ิงที่เราควรทำคืออัพเดท CV แต่ว่าก่อนที่เราจะอัพเดท CV ได้นั้นเราควรจะอัพเดทข้อมูลต่างๆ บน social media ที่เป็นแหล่ง IT recruiter, HR หรือ hiring manager ใช้ในการค้นหาผู้สมัคร ซึ่งในปัจจุบันสำหรับผมคือ ลิงค์นี้ นั้นเองครับผม โดยสิ่งที่จะทำให้ profile ของเราเป็นที่รู้จักคือการโพสผลงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บทความ (ไทย-อังกฤษ) รูปภาพการไปเป็น speaker ในงานต่างๆ หรือแม้กระทั่งใบประกาศนียบัตร ต่างๆ ที่เราได้ไปล่ามา นำมาโพส และอัพเดท profile ให้หมด! จะช่วยให้ profile เราเป็นที่น่าสนใจครับ

การเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์

โดยปกติในหลายๆบริษัท HR หรือ hiring manager (หัวหน้างาน) จะแนะแนวทางสัมภาษณ์ว่ามีทั้งหมดกี่รอบ และแต่ละรอบคืออะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ที่เราไม่สามารถจะจำอะไรได้ทั้งหมด ดังนั้น เป็นสิ่งที่ HR หรือ hiring manager จะบอกไว้ให้เราเป็นข้อมูลคร่าวๆล่วงหน้า เพื่อให้เราได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมนั้นเอง ย้ำว่าไม่ได้บอกข้อสอบ หรือหัวข้อคำถามนะครับ แค่บอกว่ามีกี่รอบ แต่ละรอบเกี่ยวกับอะไรบ้างแบบกว้างๆ มหาสมุทรเลย T_T

รูปแบบการสัมภาษณ์

แต่ละบริษัทสายเทคโนโลยี ก็จะมีรูปแบบการสัมภาษณ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยรูปแบบการสัมภาษณ์ของผม จะเป็นแบบออนไลน์ และผมสามารถเลือก วันและเวลา ในการสัมภาษณ์ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับเราได้ ดังนั้นเราควรถาม HR หรือ hiring manager ของบริษัทที่จะสัมภาษณ์เราว่า การสัมภาษณ์มีกี่รอบ แต่ละรอบ เนื้อหาประมาณไหนบ้าง ใช้เวลาเท่าไหร่ เพื่อให้เราได้เตรียมความพร้อม ซึ่งสำหรับผมมีขั้นตอนการสัมภาษณ์ทั้งหมด 6 รอบ ถ้าผ่าน 6 รอบ จึงจะมาที่ job offers ครับผม โดยแต่ละรอบมีดังนี้

  • General discussion (1 รอบ) : ถามเรื่องทั่วไป ความเป็นอยู่ นิสัยของเรา
  • Technical discussion (3 รอบ) : แต่ละรอบถามเน้นไปทางความรู้เฉพาะทางในวิชาชีพนั้นๆ
  • Presentation discussion (1 รอบ) : นำเสนอความรู้ที่เราถนัด
  • Director discussion (1 รอบ) : ถามเรื่องทั่วไป

สิ่งที่ต้องทำก่อนมา

เมื่อเราตอบรับงานจากบริษัทที่จัดตั้งในสิงค์โปร์แล้ว บริษัทเทคโนโลยีหลายๆแห่ง จะมีหน่วยงานดูแลเรื่องการทำ immigration หน้าที่ของเรา คือเตรียมเอกสารที่จำเป็นในการขอบัตรทำงานแบบ Employment Pass (EP) and/or Dependent Pass (DP) ต่างๆ มีข้อมูลอธิบายไว้ตามลิงค์นี้ ซึ่งเอกสารต่างๆที่จำเป็นมีดังนี้

  • ใบปริญญา : ต้องมีใบรับรองการศึกษา (transcript) และ ใบปริญญา (degree certifcate) เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และควรหาวุฒิ หรือเตรียมมีวุฒิหากสนใจในอนาคต ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานที่จะทำ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาในการออกบัตรทำงานในสิงค์โปร์
  • หากจะพาลูก และภรรยาไปด้วยในฐานะผู้ติดตาม จะต้องขอบัตรแบบ Dependent Pass (DP) โดยต้องนำเอกสารได้แก่ ใบสูตรบัตร และใบทะเบียนสมรส ไปทำ
    • (a) แปลภาษาอังกฤษ ทำที่อำเภอได้ทุกแห่ง มีเอกสารอะไรบ้างที่สามารถแปลได้ ดูจาก ลิงค์นี้  และ 
    • (b) นำเอกสารที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปรับรองนิติกรณ์ ดูจาก ลิงค์นี้
  • ใบรับรองวัคซีน : ถ้าเราใช้แอพ “หมอพร้อม” สามารถขอ international vaccine certificate ผ่านมือถือได้เลยครับ พิมพ์ออกมาแล้วเก็บติดตัวมาด้วย ดูจาก ลิงค์นี้
  • ใบรับรองวัคซีนสำหรับลูกน้อย : ผมมีลูกน้อยที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ สิ่งจำเป็นคือสมุดวัคซีนของลูก ปกติจะได้ติดตัวมากันตอนคลอด และใช้บันทึกการฉีดวัคซีนแต่ละเดือน ให้นำมาสแกนเก็บไว้ พร้อมกับทำขั้นตอนดังนี้
    • (a) ดาวโหลดแบบฟอร์มจาก NIR และเอามากรอกข้อมูลวัคซีนให้ตรงกับสมุดวัคซีน แล้วนำ ไปให้หมอที่ฉีดวัคซีนใส่ลายเซ็น โดยข้อมูลทั้งหมด ต้องกรอกเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น 
    • (b) นำแบบฟอร์ม และ สมุดวัคซีน สแกนหรือถ่ายรูป นำไปอัพโหลดที่เว็บตาม (a) ชำระเงิน และรอ 10 วันไม่นับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดประจำชาติสิงค์โปร์ จากนั้นครบกำหนดจะมีอีเมล์ส่งมาแจ้งว่า ผ่าน หรือ ขาดเอกสารอะไรให้อัพโหลดเพิ่มเติม 
  • จองนัดมารับบัตรทำงาน (EP) : จองตั๋วเครื่องบิน และ โรงแรม ให้พร้อม แล้ว ทีมงาน immigration บริษัท จะทำนัดหมายวันที่ให้เรามา ถ่ายรูป และ พิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อรับบัตรทำงาน ซึ่งทางทีมงานจะส่งเอกสารที่ชื่อว่า Notification letter มาทางอีเมล์ ให้พิมพ์เก็บไว้ เพื่อนำมาลงทะเบียนขอรับบัตรทำงาน
  • หาที่พักที่เรียกว่า Residence Address หมายถึงที่อยู่ที่ไม่ใช่โรงแรม เพื่อเอาไว้สำหรับลงทะเบียน มือถือ บัตรทำงาน บัญชีธนาคาร และอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นมากๆในการใช้ชีวิตในสิงค์โปร์ โดยทั่วไปจะหาข้อมูลได้จาก propertyguru และ 99co ซึ่งวิธีที่นิยมทำกันสำหรับต่างชาติอย่างผม คือ หานายหน้า(agent) ให้ช่วยติดต่อกับเจ้าของที่พัก (Landlord เรียกย่อๆว่า LL) ที่เราสนใจ และจ่ายค่านายหน้าเมื่อทำงานเสร็จ ควรจะหาทั้งนายหน้า และที่พักล่วงหน้า ก่อนมาสิงค์โปร์ เนื่องจากที่สิงค์โปร์หาที่พักในราคาที่เหมาะสม และชอบ ยากมาก(ก) ล้านตัว !!!

สรุปเอกสารที่ต้องติดตัว

  • เอกสาร In-principle approval (IPA) เป็น เอกสารรับรองการทำงานในประเทศสิงค์โปร์ชั่วคราว มีอายุ 6 เดือน จะได้ก็ต่อเมื่อส่งข้อมูลทั้งหมดไปที่ ทีมงาน immigration ของบริษัท แล้วรอ 2-3 สัปดาห์จะได้คำตอบ ถ้าไม่มีใบนี้ก็มาอยู่สิงค์โปร์เกิน 30 วันไม่ได้ 
  • เอกสารการจองโรงแรม และตั๋วเครื่องบิน (oneway ticket)
  • เอกสารใบรับรองต่างๆที่ได้ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ใบสมรส ใบสูติบัตรลูก ใบรับรองวัคซีนลูก
  • Notification letter

สิ่งที่ต้องทำเมื่อมาถึงแล้ว

เมื่อมาถึงสิงค์โปร์แล้วภายใน 30 วันควรทำสิ่งเหล่านี้

  • เปิด sim มือถือ : แต่ละค่าย มีเพจเกจให้เลือกมากมาย แต่ควรจะเปิดเป็นรายเดือนครับผม ส่วนตัวผมเลือกค่าย m1
  • เปิดบัญชีธนาคาร : แต่ละธนาคารก็มีโปรโมชั่นแตกต่างๆกันไป และมีระเบียบในการคงยอดเงินในบัญชี แต่ละธนาคารที่แตกต่างกันอีก ซึ่งสามารถสมัครขอเปิดบัญชีผ่านช่องทาง ออนไลน์ หรือ counter ได้ โดยเตรียมเอกสารสำคัญดังนี้
    • Residence address คือ เอกสารใดๆ ที่มีชื่อ และ ที่อยู่ ไม่ใช่ ที่อยู่โรงแรม ปรากฏในเอกสารนั้นๆ เช่น ใบเสร็จค่ามือถือ ใบสัญญาเช่า และ อื่นๆ
    • บัตรทำงาน (Pass ต่างๆ) หรือ IPA (ใช้ได้เฉพาะธนาคาร DBS)
    • Passport
    • กรณีเปิดบัญชี ให้ภรรยา ต้องใช้ ใบสมรสภาษาอังกฤษ ด้วย
  • รับบัตรทำงาน (EP) : โดยจะมีขั้นตอนดังนี้
    • เดินทางมาที่ Employment pass service centre ตามนัดหมายพร้อมเอกสาร Notification letter รอคิวถ่ายรูป และพิมพ์ลายนิ้วมือ ไม่เกิน 30 นาที ซึ่งปกติจะเป็นวันธรรมดา ต้องลางาน หรือแจ้ง หัวหน้างานให้ทราบก่อน
    • บัตรทำงานจะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้ในเอกสารที่เรียกว่า card delivery address ภายใน 10 วันทำการ ซึ่งตอนแรกผมใส่ที่อยู่บริษัทไปก่อน แล้วค่อยมาเปลียนทีหลัง แบบนี้สามารถทำได้ครับ
  • สมัคร Singpass : เมื่อได้ EP แล้วให้ทำการสมัคร Singpass สามารถทำผ่าน
    • ช่องทาง Online เหมาะกับ คนที่ได้ที่อยู่ถาวรแล้ว ที่สามารถรับ รหัสผ่าน ที่จะถูกจัดส่งไปทางไปรษณีย์ หรือ
    • ช่องทางหน้า Counter เหมาะสำหรับ คนที่ยังอยู่โรงแรม แบบผม สามารถไปที่นั่น ไปต่อคิวรอสมัคร ทำเสร็จ ได้รหัสผ่าน ทันที! ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ลิงค์นี้
  • ไปคลินิค : ภายใน 30 วันต้องส่งข้อมูลใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิดให้เรียบร้อยไปยังกรมแรงงาน โดยสามารถไปใช้บริการได้ตามศูนย์ต่างๆ ลิงค์นี้ มีค่าบริการประมาณ S$40 ผลการอัพโหลดเอกสาร จะถูกอัพเดทผ่าน แอพ HealthHub ไม่เกิน 48 ชม.
  • ทำสัญญาเช่าที่อยู่ : อันนี้คือจำเป็นเหมาะสำหรับการอยู่ระยะยาว 1-2 ปี
  • สมัคร Internet : มีหลายเจ้าให้เลือก สำหรับ ผมเลือก myrepublic 1Gbps สัญญา 24 เดือน

การเช่าที่อยู่อาศัย

เรามาลองทราบข้อมูลต่างๆที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการเช่าที่อยู่อาศัยกัน

  • ประเภทที่อยู่อาศัย
    • House and Development Board (HDB) : นิยามคือ ราคาถูกกว่า Non-HDB ซึ่งปกติจะไม่มี security guard และ facilities (สนามเด็กเล่น ที่ทำ bbq ฟิตเนส สระว่ายน้ำ) โดยสิ่งเหล่านี้สามารถหาใช้บริการได้จาก community club (มีค่าสมาชิก) ซึ่งปกติจะมีใกล้ๆ HDB เกือบทุกที่
    • Non-HDB : นิยามคือ ราคาจะแพงกว่า Non-HDB พอสมควร และมี facilities ครบทุกอย่าง ภายในรั้วของคอนโดนั้นๆ

**โดยแต่ละพื้นที่ ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันไป ถ้าเลือกพักใกล้ตัวเมืองราคาจะแพงกว่าเลือก พักไกลตัวเมืองออกไป ซึ่งการเลือกก็ขึ้นอยู่กับ งบประมาณ ความสะดวกในการเดินทางไปที่ทำงาน และความชอบส่วนตัว

  • เอกสารสำหรับทำสัญญา
    • Letter of Intent (LOI) : เอกสารสำหรับยืนยันการจอง เพื่อป้องกันไม่ให้ ผู้ให้เช่า ไปรับข้อเสนอของคนอื่นๆอีก โดยมีการระบุเงื่อนไขเบื้องต้นในการเช่า และเมื่อผู้เช่าอ่านจบแล้ว จะให้ผู้เช่า (Tenant) เซ็นก่อน และให้ผู้ให้เช่า (LL) เซ็น จากนั้นโอนเงิน advanced deposit
    • Tenancy Agreement (TA) : เอกสารสัญญาเช่าฉบับแท้ ระบุรายละเอียดการเช่า การดูและ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ข้อห้ามและค่าปรับต่างๆ โดยจะมีให้อ่านทั้งหมด 10 หน้าขึ้นไป ต้องอ่านให้หมด ไม่เข้าใจตรงไหนถาม agent ของเราได้ตลอด เราจ้างมาแล้ว จากนั้นเซ็น และค่อยโอนเงิน security deposity
  • ค่าใช้จ่ายต่างๆ
    • Security deposit : ค่าประกันความปลอดภัย โดยทั่วไปจะคิดจาก
      • ถ้าทำสัญญาเช่า 1 ปี จ่ายเป็นค่าเช่า 1 เดือน 
      • ถ้าทำสัญญา 2 ปี จ่ายเป็นค่าเช่า 2 เดือน
    • Advanced deposit : จ่ายล่วงหน้าก่อนอยู่เป็นค่าเช่า 1 เดือน
    • Duty stamp fee : ค่าภาษีอาการแสตมป์
    • Water+electric+gas deposit : ค่าประกันค่าสาธารณูปโภคสำหรับที่ผมอยู่ จะเก็บค่ามัดจำ เป็นจำนวน S$500 โดยจะให้ดาวโหลดแอพจาก SPGroup สมัครสมาชิก แล้วทำนัดหมายวัน ที่จะเปิดใช้บริการสาธารณูปโภคเหล่านั้น เมื่อเปิดเสร็จต่อไปก็จ่ายเงินผ่านแอพได้เลย สะดวกมากๆ
    • Agent fee : หากใช้บริการนายหน้า โดยทั่วไปจะต้องจ่ายค่านายหน้า เพื่อดูแล เอกสารต่างๆ และทุกๆอย่างให้เราตั้งแต่ ก่อนเช่า ขณะเช่า หลังเช่า และต่อสัญญาใหม่(หากอยู่ต่อ) โดยทั่วไปคิดค่าจ้างดังนี้
      • ถ้าทำสัญญาเช่า 1 ปี จ่ายเป็นค่าเช่า 1/2 เดือน 
      • ถ้าทำสัญญา 2 ปี จ่ายเป็นค่าเช่า 1 เดือน
    • Diplomatic Clause (12+2) : จะต้องจ่ายในกรณีที่ยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ซึ่งระบุในสัญญา​ (ต้องอ่านให้ดี) เช่น ทำสัญญาเช่า 2 ปีหากยกเลิกสัญญาหลังอยู่ได้ 12 เดือน ผู้เช่าจะต้องจ่ายเป็นจำนวน ค่าเช่า 2 เดือน สำหรับการ ยกเลิกสัญญา นี้
    • Maintenance and Repair : คือค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องซ่อมอุปกรณ์บางอย่างภายในบ้าน หลังจากเช่าอยู่ในเดือนที่2 เป็นต้นไป (เดือนแรก ต้องรีบเช็ค เพราะว่าซ่อมฟรี) โดยปกติจะอยู่ที่ S$150-S$300 สมมติในสัญญาเขียนว่า ค่า ma & repair S$200 หมายถึงผู้เช่าจะจ่ายค่าซ่อมต่างๆไม่เกิน $S200 ต่อการซ่อมหนึ่งครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องซักผ้าพังต้องซ่อม เรียกช่างมาซ่อม ช่างเรียกเก็บเงิน S$300 ในกรณีนี้ ผู้เช่าออก S$200 ส่วนผู้ให้เช่าออก S$100 เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้จาก ลิงค์นี้

รายชื่อแอพที่จำเป็นในสิงค์โปร์สำหรับผู้ใช้ไอโฟน

แนะนำว่าควรจะเปลี่ยนประเทศในข้อมูลสมาชิก สำหรับผมเปิดใหม่อีก account ใส่เป็นประเทศสิงค์โปรจะสะดวกมากครับผม สามารถกดตรงชื่อแต่ละแอพ เพื่อดาวโหลดได้เลยนะครับ

  • Singapore Maps : ใช้ดูแผนที่ในสิงค์โปร์ แม่นยำกว่า Google Map
  • Singpass : ใช้สำหรับดูข้อมูล Pass ต่างๆ เช่นวันหมดอายุ สำหรับผมที่มี EP โดยทั่วไปจะมีอายุบัตร 2 ปี แปลว่า ผมและครอบครัว ต้องต่อบัตรใหม่ ทุกๆ 2 ปี หรือไม่ก็ขอ Permanent residence (PR) จะมีอายุ 5 ปี อีกทั้งแอพนี้ถูกใช้เป็น authentication เชื่อมกับแอพรัฐบาลของสิงค์โปร์ เช่น HealthHub
  • HealthHub : ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลสุขภาพ เช่น vaccine certificate หรือ covid-19 records
  • MyICA Mobile : ใช้ดูข้อมูลเกี่ยว ตม. สิงค์โปร์
  • SPgroup : ใช้สำหรับดูการใช้สาธารณูปโภคของที่พักเรา พร้อมจ่ายเงินได้ด้วย
  • My M1 : สำหรับคนที่ใช้มือถือค่าย m1 ไว้ดูข้อมูลส่วนตัว และจ่ายค่ามือถือ
  • DBS Digital bank: สำหรับคนที่เปิดบัญชีกับธนาคาร DBS ใช้จ่ายค่าบริการตต่างๆได้

รีวิวโดย : พ่อบ้าน it ครับ

4 responses to “[รีวิวสิงค์โปร์] : การมาทำงานในสิงค์โปร์”

  1. เห็นภาพเลยค่ะ ดีมากเลย❤️

    Liked by 1 person

    1. ขอบคุณมากเลยครับ😊

      Like

  2. รายละเอียดครบมากครับอ.

    Like

    1. ขอบคุณมากๆเลยครับ อ.

      Like

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: